Font Size

Profile

Layout

Direction

Menu Style

Cpanel

มูลนิธิคิดดี พูดดี ทำดี

ภาพบรรยากาศผู้เข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

 ควันหลงส่งพ่อหลวง
“เก็บควันหลงส่งพ่อหลวงปวงพสก     ยากหยิบยกเทียบครั้งไหนมากมายเหมือน
ช่างมืดฟ้ามามัวดินถิ่นสะเทือน          หัวใจเปรื้อนเศร้าอาลัยใจหนึ่งเดียว
จะแผดร้อนแค่ไหนก็ไม่หวั่น             จะต้องยืนทั้งวันมั่นเต็มเหนี่ยว
จะเปียกปอนนอนถนนคนกลมเกลียว   ห่างเศษเสี้ยวของพระองค์ผู้ทรงงาน
พอถึงคราน้ำตาไหลใจสะอื้น            ทั้งวันคืนคร่ำวิโยคโศกสะท้าน
สงบใจให้พระองค์ส่งพระวิญญาณ      สู่สถานพิมานแก้วเพริศแพร้วพลัน
จิตอาสาน่าชื่นชมนิยมนัก                ทำด้วยรักจากหัวใจไม่หุนหัน
เด็กผู้ใหญ่ไม่ย่อท้อขออภิวันท์          ทำความดีร่วมกันเพื่อท่านพระองค์
ขบวนริ้วอิสริยยศปรากฏก้อง            สมพระเกียรติตามครรลองราชประสงค์
ประติมาจิตรกรรมยังดำรง                ค่าสูงส่งชาติใดไม่มีปาน
ถึงเวลาเปลี่ยนผันมุ่งมั่นต่อ              จะทำดีเพื่อพ่อขอสืบสาน
คำพ่อสอนยังจีรังก้องกังวาล             พระปณิธานต้องเห็นผลจากคนไทย
จะรักกันเหมือนวันลาพ่อฟ้าหลวง        จะเป็นห่วงเหมือนจิตอาสาค่ายิ่งใหญ่
จะธำรงเอกลักษณ์เหมือนหลักชัย       จะกลมเกลียวตลอดไปเป็นไทยเดียว”
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า นายเสน่ห์ ศรีสุวรรณ ผู้ประพันธ์ 27 ตุลาคม 2560

ชมย้อนหลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ชมย้อนหลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

วันที่ 25-27 ต.ค.60 #สำนักข่าวไทย

https://m.youtube.com/watch?v=Da7UX-HEl5Y#

https://youtu.be/VFzCtoraZKo

• พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ (เวลา 07.00 น 27 ต.ค.60)
https://youtu.be/UvQ6qVX85XI

• การแสดงมหรสพสมโภช เวทีหนังใหญ่และโขน 26 ต.ค.60
https://youtu.be/J4uJZMS6DJQ

• พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ (เวลา 16.50 น. 26 ต.ค.60)
https://youtu.be/crpEMUgD8e8

• ประมวลภาพพิธีอัญเชิญพระบรมโกศไปพระเมรุมาศ (26 ตุลาคม 2560)
https://youtu.be/hRyagqitjL4

• พระราชพิธีอัญเชิญพระบรมโกศไปพระเมรุมาศ (2) (เวลา 14.00 น. 26 ต.ค.60)
https://youtu.be/lSb0q2xvTEQ

• พระราชพิธีอัญเชิญพระบรมโกศไปพระเมรุมาศ (26 ต.ค.60)
https://youtu.be/nOvLs2Y_FEQ

• พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ (25 ต.ค.60)
https://youtu.be/pHAbUJCfWjU

บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ปัญหารอบตัวที่รุมเร้าชีวิตเรา แก้ไขได้ง่ายๆ

เพียงเริ่มต้นจาก ... "ใจที่สงบ"  แล้วจะพบทางออก

 

ขอเชิญชวนทุกท่านสวดมนต์ "บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"

พระธรรมเทศนาบทแรกของพระพุทธเจ้า

ไพเราะ สงบเย็น จิตเป็นสมาธิ เพื่อชีวิตสดชื่น ครอบครัวเป็นสุข สังคมร่มเย็น

 

Read more...

วีดีโอ เรื่องทั่วไป

พระพุทธเจ้าโปรดพระโพธิสัตว์

 
 

ธรรมปฏิบัติ

 
 

คลิปวีดีโอ กิจกรรมของมูลนิธิ คิดดี พูดดี ทำดี

ภาพกิจกรรม

โครงการในมูลนิธิ และผลงานอื่นๆ

ประวัติพระเกจิอาจารย์

  • พระเกจิอาจารย์

  • พระอาจารย์ท่านอื่นๆ

สมเด็จพระราชมุนี สามีรามคุณูปจารย์ (ปู สามีราโม) หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด, สมเด็จเจ้าพะโคะ

Sample imageเมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 7 ขวบ พ.ศ. 2132 บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือ ที่วัดกุฎ๊หลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจำตัวท่านต่อไป ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้นสมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจ ปัจบันก็คือเรียนนักธรรมนั่นเอง โดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ห่างจากวัดดีหลวงไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรที่วัดสีคูยังนั้น หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้น โดยมาพำนักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสำนักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน ต่อมาท่านได้สั่งเสียกับลูกศิษย์ว่าเมื่อท่านมรณภาพให้นำพระศพท่านไปไว้ที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ต่อไปสถานที่ข้างหน้าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้คนมาเที่ยว

อ้างอิง: wikipedia

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

Sample imageเมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี"[14] เนื่องจากเป็นนาคหลวงจึงเรียกว่า "พระมหาโต" มานับแต่นั้น[15] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับพระมหาโตไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ จริยาวัตร ท่านมีอุปนิสัยทำสิ่งใดตามความพอใจของตน ไม่ถือเอาความนิยมขอผู้อื่นเป็นหลัก[15] และไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใด ๆ แม้ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ก็ไม่ยอมเข้าสอบเปรียญธรรม ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ แต่ท่านไม่ยอมรับ จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอดรัชกาล ต่อมากล่าวกันว่า พระมหาโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของท่านอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน

อ้างอิง: wikipedia

พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต (มั่น ภูริทตฺโต) หลวงปู่มั่น, พระอาจารย์มั่น

Sample imageชื่อเดิมคือ "มั่น แก่นแก้ว" ท่านเกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2413 ปีมะแม ที่บ้านคำบง ตำบลสงยาง อำเภอโขงเจียม (ปัจจุบันคือ อำเภอศรีเมืองใหม่) จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายคำด้วง และนางจันทร์ แก่นแก้ว และได้อุปสมบทในธรรมยุติกนิกายเมื่ออายุ 23 ปี ในปี พ.ศ. 2436 ณ วัดเลียบ อ.เมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 โดยมีพระอริยกระวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ก่อนหน้านี้หลวงปู่มั่นได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 15 ปี ณ วัดบ้านคำบง เมื่อบวชได้ 2 ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน จิตท่านยังหวนคิดถึงร่มผ้ากาสาวพัสตร์อยู่เนืองนิจ เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า "เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายากนัก" ต่อมาหลวงปู่เสาร์ได้เดินธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่บ้านคำบง นายมั่น จึงเข้าถวายการรับใช้และมีจิตศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่เสาร์ ต่อมาได้เป็นศิษย์ติดตามเข้าเมืองอุบล ครั้นอายุได้ 23 ปีจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ แรกบวชได้เข้าฝึกปฏิบัติธรรม ในสำนักของพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) ณ วัดเลียบ และบวชที่วัดศรีทอง จ.อุบลราชธานี มีพระอริยะกวี(อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังท่านได้ออกจาริกเดินธุดงค์ติดตามหลวงปู่เสาร์ และธุดงค์เดี่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ และไปศึกษาธรรมะจากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ผู้เป็นอาจารย์ของท่านอีกท่านหนึ่ง จึงออกจาริกไปอีกหลายที่หลายแห่ง

อ้างอิง: wikipedia

พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท)

Sample imageพระครูวิหารกิจจานุการ หรือ หลวงพ่อปาน โสนันโท [1] ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2418ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ นายสะอาด และ นางอิ่ม สุทธาวงศ์ [2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า โสนันโท ต่อมาท่านได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อสุ่นพอสมควรแล้ว จึงได้เดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดสระเกศ กรุงเทพฯ และวัดเจ้าเจ็ดในพระนครศรีอยุธยาเรียนแพทย์แผนโบราณจากวัดสังเวชฯศึกษาเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย และ พระอาจารย์โหน่ง อิณฑสุวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองมะดันเรียนวิชาสร้างพระเครื่องดินจากชีปะขาว เรียนการปลุกเสกพระเครื่องและเป่ายันต์เกราะเพชรจากอาจารย์แจง สวรรคโลก ได้รับพระคาถาปัจเจกโพธิสัตว์มาจากครูผึ้ง อยุธยา หลังจากนั้น ท่านจึงได้มาอยู่ที่วัดบางนมโคและได้รับพระราชทานสัมณศักดิ์เป็น พระครูวิหารกิจจานุการ กิจวัตรของท่านก็คือหลังจากท่านฉันภัตตาหารเพลแล้ว ท่านก็จะมาสงเคราะห์ชาวบ้าน ตลอดทั้งวัน และการทำน้ำมนต์เพื่อรักษาคนไข้ รวมทั้งผู้ที่ถูกกระทำคุณไสยด้วย หลวงพ่อปาน โสนันโทได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รวมสิริอายุได้ 63 ปี บวชพระมาได้ 42 พรรษา เหลือแต่มรดกที่ล้ำค่า เช่น พระเครื่องดินเผา ผ้ายันต์เกราะเพชร ผ้ายันต์ชนิดต่าง ๆ และพระคาถาปัจเจกโพธิสัตว์ มอบให้แก่ศิษย์สืบไป ลูกศิษย์ของท่าน ที่สืบทอดวัดบางนมโคต่อจากท่านก็คือ หลวงพ่อเล็ก เกสโร เจ้าอาวาสรูปที่ 4 ของวัดบางนมโค

อ้างอิง: wikipedia

  • พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ Sample image

    พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ในครอบครัวของชาวนาซึ่งมีฐานะค่อนข้างดี บิดาชื่อ นายควง สังข์สุวรรณ มารดาชื่อนางสมบุญ สังข์สุวรรณ ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 จากพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน 5 คน ก่อนที่พระราชพรหมยานจะเกิดนั้น มารดาของท่านฝันว่า เห็นพระพรหมมีสีเหลืองเป็นทองคำเหมือนพระพุทธรูป นอนลอยไปในอากาศ มีเพชรประดับแพรวพราวทั้งตัว เข้าทางหัวจั่วด้านทิศเหนือ เข้ามานั่งที่ตักท่าน มารดาก็กอดไว้ แล้วก็หายเข้าไปในกาย เมื่อเกิดมาใหม่ ๆ หลวงพ่อเล็ก เกสโร ซึ่งมีฐานะเป็นลุง ได้กล่าวว่า เจ้าเด็กคนนี้มาจากพรหม ดังนั้นจึงให้ชื่อว่า "พรหม" และต่อมาภายหลัง คนที่จดสำมะโนครัวเขามาเปลี่ยนชื่อให้เป็น "สังเวียน" ท่านยายกับชาวบ้านเรียกว่า "เล็ก" ส่วนท่านมารดาและพี่ ๆ น้องๆ เรียกว่า "พ่อกลาง" พ.ศ. 2466 อายุ 7 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ 3 พ.ศ. 2474 อายุ 15 ปี อาศัยกับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ พ.ศ. 2478 อายุ 19 ปี เข้าทำงานเป็นเภสัชกรทหาร สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า) อุปสมบท พ.ศ. 2479 อายุ 20 ปี อุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 เวลา 13.00 น. ที่วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คำสั่งพระอุปัชฌาย์ ขณะเข้าบวช หลวงพ่อปาน ท่านบอกท่านอุปัชฌาย์ว่า เจ้านี่หัวแข็งมาก ต้องเสกด้วยตะพดหนักหน่อย ท่านอุปัชฌาย์ท่านเป็นพระทรงธรรมเหมือนหลวงพ่อ (ปาน) หลวงพ่อเล็กก็เหมือนกัน ท่านอุปัชฌาย์ท่านยิ้มแล้วท่านพูดว่า "3 องค์นี้ไม่สึก อีกองค์ต้องสึกเพราะมีลูก เมื่อจะสึกไม่ต้องเสียดายนะลูก เกษียณแล้วบวชใหม่มีผลสมบูรณ์เหมือนกัน 2 องค์นี้พอครบ 10 พรรษาต้องเข้าป่า เมื่อเข้าป่าแล้วห้ามออกมายุ่งกับชาวบ้านจนกว่าจะตาย จะพาพระและชาวบ้านที่อวดรู้ตกนรก จงไปตามทางของเธอ ท่านปานช่วยสอนวิชาเข้าป่าให้หนักหน่อย ท่านองค์นี้ (หมายถึงฉัน) จงเข้าป่าไปกับเขา แต่ห้ามอยู่ในป่าเป็นวัตร เพราะเธอมีบริวารมาก ต้องอยู่สอนบริวารจนตาย พอครบ 20 พรรษาจงออกจากสำนักเดิม เธอจะได้ดี จงไปตามทางของเธอ ฉันบวชพระมามากแล้วไม่อิ่มใจเท่าบวชพวกเธอ"

    อ้างอิง: wikipedia

  • พระมงคลสิทธิการ (พูล อตฺตรกฺโข) หลวงพ่อพูล Sample image

    หลวงพ่อพูล อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมเกิดในนามสกุล "ปิ่นทอง" เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรคนที่ 6 ใน นายจู และนางนำเนียง ปิ่นทอง ท่านจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดห้วยจระเข้ นครปฐม เมื่อปี พ.ศ. 2471 จากนั้นได้ฝึกอ่านเขียนอักษรขอมและแพทย์แผนโบราณจาก "ปู่แย้ม ปิ่นทอง" ผู้ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่แท้ๆของท่าน และได้รับการถ่ายทอดวิชา คาถาอาคมจาก หลวงพ่อจ้อย วัดบางช้างเหนือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงปู่กลั่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมในวัยหนุ่มหลวงพ่อพูลชอบฝึกและศึกษาวิชามวยไทยจนเป็นนักมวยฝีมือดีคนหนึ่ง จนมีอายุครบเกณฑ์ทหาร หลวงพ่อพูลได้ถูกเกณฑ์ไปสังกัดทหารม้า เป็นทหารรักษาพระองค์ที่สะพานมัฆวาน โดยต่อมาท่านได้รับยศเป็นนายสิบตรี อุปสมบท หลังจากท่านปลดประจำการ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2480โดยมี พระครูอุตตการบดี (หลวงปู่สุข ปทฺวณฺโณ)เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังท่านบวช ได้พำนักอยู่ที่วัดพระงาม ศึกษาเล่าเรียนจนสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อ พ.ศ. 2482ในระหว่างนี้เองท่านได้ให้ความสนใจศึกษาด้านการเจริญสมาธิจิตฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน ตามคำสอนควบคู่กับการศึกษาวิชาอาคม ซึ่งได้รับมอบหมายจาก "ปู่แย้ม ปิ่นทอง" ที่วัดพระงามนี้ท่านจึงได้มีโอกาสได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อพร้อม วัดพระงาม พระเกจิที่ท่านเคราพมากที่สุดคือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ได้รับคำแนะนำในการเจริญสมาธิภาวนา การเขียนอักขระเลขยันต์ ปลุกเสกวัตถุมงคล วิชาอาคมต่างๆหลวงพ่อเงินเมตตาเป็นคนถ่ายทอดอย่างไม่ปิดบัง เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาท่านได้ย้ายมาธุดงธ์ที่ป่าเขาลำเนาไพรฝึกฝนสมาธิจิต และในปี พ.ศ. 2490 วัดไผ่ล้อมขาดเจ้าอาวาสในการปกครองเนื่องจากเจ้าอาวาสแต่ละรูปอยู่ปกครองวัดได้ไม่นานต้องลาสิกขาบทออกไป หลวงพ่อพูลจึงได้ย้ายมาจำพรรษาประจำอยู่ที่วัดไผ่ล้อม พร้อมกับทำรก่อสร้าง พัฒนาวัดเรื่อยตลอดเวลา มรณภาพ หลวงพ่อพูลมรณภาพในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 สิริอายุได้ 92 ปี นับพรรษาได้ 67 พรรษา

    อ้างอิง: wikipedia

ติดต่อเรา

  • เลขที่: 1865 ถนนเพชรเกษม แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
  • Tel: 08-1444-5888
  • Fax: -
  • Email: -