



เจริญจิตภาวนาถวายเป็นพระราชกุศล ครั้งที่ ๕
ที่ ธรรมสถาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศาลายา นครปฐม
เจริญจิตภาวนาถวายเป็นพระราชกุศล ครั้งที่ ๕
ที่ ธรรมสถาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศาลายา นครปฐม
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ. รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง. ศุกร์ สุข สุด เหนือสิ่งอื่นใดๆ ที่ ๔-๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ ธรรมสถาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จ.นครปฐม น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลในพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ผู้เสด็จสวรรคตสู่สวรรคาลัย --------♤♤♤♤♤♤------- การสั่งสมบุญกิริยา..ร่วมปฏิบัติธรรม "ศุกร์ถึงธรรม สุขถึงใจ & มูลนิธิคิดดี พูดดี ทำดี" สดับธรรมเทศนา " ลอยกระทงลงในรอยพระพุทธบาท" โดยท่านพระอาจารย์มหาบุญช่วย ปญฺญาวชิโร วัดบางยี่ขัน บางพลัด กรุงเทพฯ มีการเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตภาวนา ธรรมยาตราสาธยายพระพุทธคุณพระธรรมคุณพระสังฆคุณ ๖๙ วาระโดยรอบ มมร ปฏิบัติธรรม สมาทานเนสัชชิก ตลอดคืน - เช้า (ค่ำศุกร์ - เสาร์:๑๘.๐๐ - ๐๗.๐๐ น.) *คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย/ม.ราชภัฎนครปฐม ,มูลนิธิคิดดี พูดดี ทำดี:โครงการปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนามหากุศล ถวายพระพรชัย ๘๙ พรรษา มหาราชา โดยประธานมูลนิธิ คุณแก้วเก้า เผอิญโชค พร้อมคณะและชุมชนชาวศาลายา คลองมหาสวัสดิ์ ร่วมสหบุญการีกัน ♢ ขอจงพลอยยินดีทานบุญบริจาคในการสมทุนถวายภัตตาหารเพลพระนักศึกษา มมร ต่อท่านเจ้าภาพ; -คุณชลดา สุทธิประเสริฐ(อายุวัฒนะมงคล) ๑๐,๐๐๐ บาท -คุณชญานิศา ชาญชัยวรากูลและครอบครัว,คุณมนต์ริสสาและครอบครัว ๕,๐๐๐ บาท - คุณสารภี เกิดโตและครอบครัว ๒,๐๐๐ บาท -คุณแก้วเก้า เผอิญโชค ๘,๐๐๐ บาท - ครอบครัวพรรณทอง ๓,๐๐๐ บาท - สหบุญการี ๒,๐๐๐ บาท รวม ๓๐,๐๐๐ บาท(สามหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งได้มอบให้แม่ชีสุรีรัตน์ ไกรภักดี รับไปปฏิบัติเรียบร้อยแล้ว จึงเชิญชวนควรได้อนุโมทนาสาธุการแซ้ซ้องว่า สาธุๆๆ...แล กราบเรียน/เรียน/เจริญพร "สองมือพนมประคองแหงนสู้ฟ้าแล้วก้มลงพิจารณาแผ่นดิน...ดั่งธรรมชีวิน กตัญญู กตเวที สุขสวัสดีโลกยั่งยืนยง"
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย & มูลนิธิคิดดี พูดดี ทำดี
ร่วมทำวัตรสวดมนต์ เจริญจิตภาวนาอนุสติธรรมสังเวช
We have 8 guests and no members online
อ้างอิง: wikipedia
อ้างอิง: wikipedia
อ้างอิง: wikipedia
อ้างอิง: wikipedia
พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ในครอบครัวของชาวนาซึ่งมีฐานะค่อนข้างดี บิดาชื่อ นายควง สังข์สุวรรณ มารดาชื่อนางสมบุญ สังข์สุวรรณ ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 จากพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน 5 คน ก่อนที่พระราชพรหมยานจะเกิดนั้น มารดาของท่านฝันว่า เห็นพระพรหมมีสีเหลืองเป็นทองคำเหมือนพระพุทธรูป นอนลอยไปในอากาศ มีเพชรประดับแพรวพราวทั้งตัว เข้าทางหัวจั่วด้านทิศเหนือ เข้ามานั่งที่ตักท่าน มารดาก็กอดไว้ แล้วก็หายเข้าไปในกาย เมื่อเกิดมาใหม่ ๆ หลวงพ่อเล็ก เกสโร ซึ่งมีฐานะเป็นลุง ได้กล่าวว่า เจ้าเด็กคนนี้มาจากพรหม ดังนั้นจึงให้ชื่อว่า "พรหม" และต่อมาภายหลัง คนที่จดสำมะโนครัวเขามาเปลี่ยนชื่อให้เป็น "สังเวียน" ท่านยายกับชาวบ้านเรียกว่า "เล็ก" ส่วนท่านมารดาและพี่ ๆ น้องๆ เรียกว่า "พ่อกลาง" พ.ศ. 2466 อายุ 7 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ 3 พ.ศ. 2474 อายุ 15 ปี อาศัยกับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ พ.ศ. 2478 อายุ 19 ปี เข้าทำงานเป็นเภสัชกรทหาร สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า) อุปสมบท พ.ศ. 2479 อายุ 20 ปี อุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 เวลา 13.00 น. ที่วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คำสั่งพระอุปัชฌาย์ ขณะเข้าบวช หลวงพ่อปาน ท่านบอกท่านอุปัชฌาย์ว่า เจ้านี่หัวแข็งมาก ต้องเสกด้วยตะพดหนักหน่อย ท่านอุปัชฌาย์ท่านเป็นพระทรงธรรมเหมือนหลวงพ่อ (ปาน) หลวงพ่อเล็กก็เหมือนกัน ท่านอุปัชฌาย์ท่านยิ้มแล้วท่านพูดว่า "3 องค์นี้ไม่สึก อีกองค์ต้องสึกเพราะมีลูก เมื่อจะสึกไม่ต้องเสียดายนะลูก เกษียณแล้วบวชใหม่มีผลสมบูรณ์เหมือนกัน 2 องค์นี้พอครบ 10 พรรษาต้องเข้าป่า เมื่อเข้าป่าแล้วห้ามออกมายุ่งกับชาวบ้านจนกว่าจะตาย จะพาพระและชาวบ้านที่อวดรู้ตกนรก จงไปตามทางของเธอ ท่านปานช่วยสอนวิชาเข้าป่าให้หนักหน่อย ท่านองค์นี้ (หมายถึงฉัน) จงเข้าป่าไปกับเขา แต่ห้ามอยู่ในป่าเป็นวัตร เพราะเธอมีบริวารมาก ต้องอยู่สอนบริวารจนตาย พอครบ 20 พรรษาจงออกจากสำนักเดิม เธอจะได้ดี จงไปตามทางของเธอ ฉันบวชพระมามากแล้วไม่อิ่มใจเท่าบวชพวกเธอ"
อ้างอิง: wikipedia
หลวงพ่อพูล อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมเกิดในนามสกุล "ปิ่นทอง" เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรคนที่ 6 ใน นายจู และนางนำเนียง ปิ่นทอง ท่านจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดห้วยจระเข้ นครปฐม เมื่อปี พ.ศ. 2471 จากนั้นได้ฝึกอ่านเขียนอักษรขอมและแพทย์แผนโบราณจาก "ปู่แย้ม ปิ่นทอง" ผู้ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่แท้ๆของท่าน และได้รับการถ่ายทอดวิชา คาถาอาคมจาก หลวงพ่อจ้อย วัดบางช้างเหนือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงปู่กลั่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมในวัยหนุ่มหลวงพ่อพูลชอบฝึกและศึกษาวิชามวยไทยจนเป็นนักมวยฝีมือดีคนหนึ่ง จนมีอายุครบเกณฑ์ทหาร หลวงพ่อพูลได้ถูกเกณฑ์ไปสังกัดทหารม้า เป็นทหารรักษาพระองค์ที่สะพานมัฆวาน โดยต่อมาท่านได้รับยศเป็นนายสิบตรี อุปสมบท หลังจากท่านปลดประจำการ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2480โดยมี พระครูอุตตการบดี (หลวงปู่สุข ปทฺวณฺโณ)เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังท่านบวช ได้พำนักอยู่ที่วัดพระงาม ศึกษาเล่าเรียนจนสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อ พ.ศ. 2482ในระหว่างนี้เองท่านได้ให้ความสนใจศึกษาด้านการเจริญสมาธิจิตฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน ตามคำสอนควบคู่กับการศึกษาวิชาอาคม ซึ่งได้รับมอบหมายจาก "ปู่แย้ม ปิ่นทอง" ที่วัดพระงามนี้ท่านจึงได้มีโอกาสได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อพร้อม วัดพระงาม พระเกจิที่ท่านเคราพมากที่สุดคือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ได้รับคำแนะนำในการเจริญสมาธิภาวนา การเขียนอักขระเลขยันต์ ปลุกเสกวัตถุมงคล วิชาอาคมต่างๆหลวงพ่อเงินเมตตาเป็นคนถ่ายทอดอย่างไม่ปิดบัง เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาท่านได้ย้ายมาธุดงธ์ที่ป่าเขาลำเนาไพรฝึกฝนสมาธิจิต และในปี พ.ศ. 2490 วัดไผ่ล้อมขาดเจ้าอาวาสในการปกครองเนื่องจากเจ้าอาวาสแต่ละรูปอยู่ปกครองวัดได้ไม่นานต้องลาสิกขาบทออกไป หลวงพ่อพูลจึงได้ย้ายมาจำพรรษาประจำอยู่ที่วัดไผ่ล้อม พร้อมกับทำรก่อสร้าง พัฒนาวัดเรื่อยตลอดเวลา มรณภาพ หลวงพ่อพูลมรณภาพในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 สิริอายุได้ 92 ปี นับพรรษาได้ 67 พรรษา
อ้างอิง: wikipedia